Home » อยากเป็น จป.หัวหน้างาน ต้องทำอย่างไร

อยากเป็น จป.หัวหน้างาน ต้องทำอย่างไร

by Chris Beck
837 views
จปหัวหน้างาน

ต้องทำอย่างไร ถึงจะได้เป็น จป.หัวหน้างาน

กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดไว้ว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง

นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี 3 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป

ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับหัวหน้างานทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ ซึ่งได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่เป็น จป.หัวหน้างานเอาไว้ ในข้อ 8 ของกฎกระทรวงนี้

คุณสมบัติ จป.หัวหน้างาน

1. อยากเป็น จป.หัวหน้างาน ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

โดยกฎกระทวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่เป็น จป.หัวหน้างานไว้ดังนี้

  • ต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน
  • ผ่านการฝึกอบรม จป หัวหน้างาน หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
  • เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  • มีคุณสมบัติตามข้อ 15 18 หรือ 21 แล้วแต่กรณี ตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565

หากเป็นหัวหน้างาน และมีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาข้างต้น ทางสถานประกอบกิจการจะทำหนังสือแต่งตั้ง หัวหน้างาน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน และแจ้งชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ เท่านี้ก็สามารถเป็น จป.หัวหน้างานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อขึ้นทะเบียนเป็น จป.หัวหน้างานตามกฎหมายแล้ว ต้องปฏิบัติหน้าที่ของ จป.หัวหน้างาน ตามที่กฎหมายกำหนดด้วย ซึ่งหน้าที่ตามกฎหมาย จะกล่าวในหัวข้อถัดไป

หน้าที่ของ จป.หัวหน้างาน

2. หน้าที่ของ จป.หัวหน้างาน ตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

จป.หัวหน้างาน ตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565  กำหนดให้ผู้ที่มีตำแหน่งหัวหน้างาน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน โดยตำแหน่ง ซึ่งหากเป็นหัวหน้างานแล้ว ไม่สามารถจะปฏิเสธตำแหน่ง จป.หัวหน้างานได้ เนื่องจากถูกบังคับโดยตำแหน่ง และได้กำหนดหน้าที่ของ จป.หัวหน้างานไว้ ดังต่อไปนี้

  1. กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  2. วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น จากการทำงานโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ
  3. จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ เพื่อเสนอคณะกรรมการความปลอดภัยหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณีและทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุก 6 เดือน
  4. สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
  5. ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
  6. กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  7. รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจาก การทำงาน ของลูกจ้างต่อนายจ้างและแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
  8. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจาก การทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพและรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  9. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
  10. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย

ส่งเสริมกิจกรรมความปลอดภัย

สรุป

การเป็น จป.หัวหน้างาน หากเราเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด และผ่านการ อบรม จป.หัวหน้างาน เรียบร้อยแล้วก็สามารถขึ้นทะเบียนเป็น จป.หัวหน้างาน โดยตำแหน่งได้ แต่การเป็น จป.หัวหน้างาน ที่สมบูรณ์นั้น ต้องสามารถทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดได้อย่างครบถ้วน ซึ่งในเบื้องต้นอาจจะต้องมีการปรับตัว เพราะหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่หากเรามีความพยายาม ก็ย่อมส่งผลให้เกิดความสำเร็จตามมา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Yemencantwait เว็บรวบรวมความรู้มีประโยชน์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่สามารถตอบโจทย์ทุกข้อสงสัยของคุณ 

ติดต่อ

บทความ

©2024 – All Right Reserved. Designed by Yemencantwait