Home » 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ คปอ (คณะกรรมการความปลอดภัยฯในการทำงาน)

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ คปอ (คณะกรรมการความปลอดภัยฯในการทำงาน)

by Chris Beck
362 views
10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ คปอ

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นหน่วยงานภายในสถานประกอบการที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความปลอดภัย สุขภาพ และสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน การจัดตั้ง คปอ. ไม่เพียงแค่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรอีกด้วย มีหลายสิ่งที่นายจ้างและผู้ที่จะมาทำหน้าที่ คปอ ควรรู้

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ คปอ

1. คปอ. ย่อจากอะไร

คปอ. ย่อมาจาก “คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” หรือชื่อ คปอ ภาษาอังกฤษ คือ Safety Committee

เป็นคณะกรรมการที่มีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานประกอบการ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในที่ทำงาน โดยมุ่งเน้นให้พนักงานทุกคนมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ

2. คปอ. มีหน้าที่อะไร

หน้าที่หลักของ คปอ. คือการตรวจสอบและเสนอแนะมาตรการความปลอดภัย รวมถึงการทบทวนและประเมินมาตรการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ คปอ. ยังมีหน้าที่ในการประสานงานกับฝ่ายบริหารและพนักงานในการสร้างความเข้าใจและสนับสนุนความปลอดภัยในที่ทำงาน

วาระการทำงานของ คปอ

3. วาระการทำงานของ คปอ.

คปอ. มีวาระการทำงาน 2 ปีต่อหนึ่งรุ่น ภายในระยะเวลานี้ คปอ. จะต้องประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อประเมินและปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย ก่อนครบวาระการทำงานครบ 2 ปี คณะกรรมการต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และส่งคปอ รุ่นใหม่เข้าอบรมก่อนที่รุ่นก่อนหน้าจะหมดวาระการทำงาน

4. จะเป็น คปอ ได้ต้องผ่านการอบรม

สำหรับผู้ที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิก คปอ. ขั้นตอนต่อไป ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน การอบรมนี้จะช่วยเพิ่มความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ โดยปัจจุบันหลักคปอ ได้มีการปรับปรุงใหม่ ก่อนสมัครอบรมต้องเช็คให้ดีต้องเป็นหลักสูตร คปอ กฎหมายใหม่ 2566 

ในหลักสูตร คปอ ใช้ระยะเวลาอบรม 2 วันเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ผู้เข้าอบรมจะต้องเข้าอบรมให้ครบชั่วโมง และผ่านการประเมินถึงจะได้วุฒิบัตร ที่จะต้องใช้ในการขึ้นทะเบียนต่อไป

คปอ. ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

5.  คปอ. ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

หลายคนอาจคิดว่ามีเพียง จป. เท่านั้นที่ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการฯ  แต่ตอนนี้ คปอ. เองก็ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเหมือนกัน

หลังจากจัดตั้ง คปอ. ในสถานประกอบการ และผ่านการอบรมแล้ว คปอ. ต้องทำการขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การขึ้นทะเบียนนี้จะทำให้ คปอ. ได้รับการรับรองว่าเป็นคณะกรรมการที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีอำนาจในการปฏิบัติงานตามที่กำหนด เอกสารที่ใช้จะประกอบไปด้วย : สำเนาบัตรประชาชน, หนังสือแต่งตั้ง คปอ, สำเนาวุฒิบัตร (ที่ได้จากการเข้าอบรม)

6. สถานประกอบการของเราต้องมี คปอ ไหม?

สำหรับผู้ที่เป็น นายจ้างอาจสงสัยว่าสถานประกอบการของเราต้องมี คปอ  หรือเปล่า สามารถตรวจเช็คได้ผ่าน >> สถานประกอบการที่ต้องมี คปอ << ซึ่งเป็นข้อกำหนดประเภทสถานประกอบการที่จัดอยู่ในบัญชีที่ 1,2และ3 ตามกฎกระทรวงฯ 2565 เมื่อมีจำนวนพนักงาน 50 คนขึ้นไป ต้องมี คปอ ซึ่งจะมีจำนวน คณะกรรมการกี่คนนั้นก็จะแบ่งแยกออกไปอีกตามจำนวนพนักงานในองค์กร

7. คปอ ต้องประชุมประจำทุกเดือน

การประชุม คปอ. เป็นสิ่งจำเป็นในการประเมินผลการดำเนินงานและปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย โดยจะมีการสรุปเหตุการณ์และประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงการวางแผนและกำหนดมาตรการใหม่ๆ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต เป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่ คปอ ต้องจัดประชุมเดือนละ 1 ครั้ง และต้องมีจำนวนคณะกรรมการที่เข้าร่วมไม่น้อยกว่าครึ่งนึงของทั้งหมด

คปอ. มาจากการเลือกตั้ง

8. คปอ. มาจากการเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง คปอ. จะจัดขึ้นเมื่อจะครบวาระการทำงานครบ 2 ปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิก โดยจะมีการคัดเลือกตัวแทนจากฝ่ายพนักงานและฝ่ายผู้บริหาร เพื่อมาทำหน้าที่ใน คปอ. กระบวนการเลือกตั้งนี้ต้องเป็นไปตามระเบียบและขั้นตอนที่กำหนดในกฎหมาย

สามารถอ่านรายละเอียดขั้นตอนการเลือกตั้ง คปอ ที่นี่

9. ความสำคัญของ คปอ. ในการบริหารจัดการความเสี่ยง

คปอ. เป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงในสถานประกอบการ โดยจะทำหน้าที่ในการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อกำหนดมาตรการและแนวทางในการลดความเสี่ยงเหล่านั้น การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุและรักษาความปลอดภัยของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10. การปฏิบัติตามกฎหมายของ คปอ.

คปอ. ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การปฏิบัติตามกฎหมายนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุในที่ทำงาน แต่ยังช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นจากพนักงานและผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจอีกด้วย

สรุป

คปอ. เป็นคณะกรรมการที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลความปลอดภัย สุขภาพ และสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน การจัดตั้งและปฏิบัติตามหน้าที่ของ คปอ. ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ซึ่งจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานให้สูงขึ้น

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Yemencantwait เว็บรวบรวมความรู้มีประโยชน์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่สามารถตอบโจทย์ทุกข้อสงสัยของคุณ 

ติดต่อ

บทความ

©2024 – All Right Reserved. Designed by Yemencantwait